สวัสดีค่ะ วันนี้พรีเมี่ยมได้รวบรวม Q&A สุดฮิต !! ของ Dust Collector (เครื่องดูดฝุ่นในโรงงานอุตสาหกรรม) EP.1 มาให้ทุกท่านได้ทำความรู้จักกับ Dust Collector มากขึ้น ว่าแต่จะมีคำถามอะไรบ้าง บทความนี้มีคำตอบค่ะ
1. Q : การออกแบบ ทำห้องดูด กับ ทำหัวดูดที่จุด อย่างไหนดีกว่ากัน ?
A : ต้องดูจุดประสงค์ก่อนว่าเราต้องการดูดอะไร หากต้องการดูดฝุ่น การทำหัวดูดเฉพาะจุดจะดีกว่า แต่ถ้าต้องการดูดกลิ่นควันเพื่อเจือจางอากาศ หรือระบายอากาศในห้องนั้นๆ การทำห้องดูดจะดีกว่า
2. Q : มีกฎหมายเรื่องฝุ่นในโรงงานหรือไม่
A : มีกฎหมายเรื่องฝุ่นในโรงงาน โดยฝุ่นในโรงงานแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่
– ฝุ่นพื้นที่ในการทำงาน : ต้องตรวจสอบว่าฝุ่นในพื้นที่การทำงานผ่านมาตรฐานหรือไม่
-ฝุ่นที่ปล่อยสู่บรรยากาศ : ต้องตรวจสอบว่าได้มาตรฐานโรงงานหรือไม่
3. Q : ถ้าหากความเร็วลมในท่อไม่ถึงหรือเกิน 17-20 m/sจะ เป็นอย่างไร
A : ในกรณีที่ถ้าความเร็วในลมท่อต่ำกว่า 17 m/s ถือเป็นความเร็วที่ต่ำ ทำให้เกิดฝุ่นค้างท่อ โดยฝุ่นจะค้างท่อไปจนถึงจุดๆหนึ่งที่ความเร็วได้ถึง 17 m/s ยกตัวอย่างเช่น ถ้าท่อมีขนาด 8 นิ้ว แต่ความเร็วในท่อครั้งแรกอยู่ประมาณ 11-12 m/s ฝุ่นก็จะค่อยๆ กองๆ รวมมาเรื่อยๆ จนถึงจุด ๆ หนึ่ง ที่สามารถมีความเร็วได้ถึง 17-20 m/s ซึ่งหมายความว่าตัวท่อจะมีขนาดไดมิเตอร์ที่เล็กลง และ Flow อัตราการดูดก็จะหายไป ทำให้เกิดปัญหาเรื่องการไม่ดูดฝุ่นตามมา ในกรณีที่ถ้าความเร็วในลมท่อเกิน 20 m/s ถือเป็นความเร็วที่เร็วเกินไป ทำให้เกิดการสิ้นเปลือง ทั้งสิ้นเปลืองพลังงาน สิ้นเปลืองทรัพยากร และสิ้นเปลืองอัตราการออกแบบ
4. Q : Dust Collector กรองฝุ่น PM2.5 ได้หรือไม่
A : Dust Collector สามารถกรองฝุ่น PM2.5 ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดฟิลเตอร์ที่เลือกใช้ด้วย
5. Q : ถ้าพื้นที่หน้างานมีจำกัด เราสามารถทำระบบ Dust Collector แบบเคลื่อนที่ได้หรือไม่
A : สามารถทำได้ เนื่องจาก Dust Collector มีหลากหลายรูปแบบ ทั้งแบบเฉพาะจุด, แบบ movement ได้ และในกรณีที่พื้นที่หน้างานมีจำกัด ก็จะมี Dust Collector แบบ Mobile และ Hood Arm ที่สามารถใช้งานได้
6. Q : ฝุ่นจากควันเชื่อมสามารถกรองได้หรือไม่
A : ฝุ่นจากควันเชื่อมสามารถกรองได้ แต่เวลาเลือกใช้ต้องบังคับให้มี Separate ตัวประกายไฟจากการเชื่อม เพื่อป้องกันปัญหาเรื่องไฟไหม้ Dust Collector หรือไฟไหม้ท่อ เนื่องจากเวลาเชื่อมจะมีพวกประกายไฟ และมีออกซิเจนวิ่งอยู่ในท่อ ดังนั้นจะต้องมี Spark Detector ไว้ป้องกันด้วย
7. Q : อยากทราบข้อดีและข้อเสียในแง่มุมต่างๆ ของ Dust Collector เมื่อเทียบกับ electrostatic precipitator (ESP) การประยุกต์ใช้งานอุตสาหกรรมแบบไหนควรใช้ ESP หรือแบบไหนควรใช้ Dust Collector, ราคา, การบำรุงรักษา, อายุใช้งาน, ค่าพลังงานไฟฟ้า, ความปลอดภัยในการใช้งาน (การระเบิด)
A : การประยุกต์ใช้งาน : การประยุกต์ใช้งานต้องดูก่อนว่าเราใช้กับกระบวนการอะไร ซึ่ง ESP จะใช้งานกับกระบวนการหนึ่งที่เหมาะสมกว่า เช่นงาน Boiler แต่ถ้าใช้กับงานฝุ่นทั่วไป Dust Collector จะเหมาะสมกว่า
ราคา : Dust Collector จะมีราคาที่ค่อนข้างถูกกว่า ดูแลบำรุงรักษาง่ายกว่า และค่าใช้จ่ายในการ Maintenance ถูกกว่า
การดูแลรักษา : แบบ ESP จะดูแลรักษายากกว่า และอุปกรณ์ ราคาค่อนข้างสูง นอกจากนี้ผู้ที่จะทำการดูแลรักษา หรือทำ PM ได้ต้องมีความรู้ความสามารถในขั้น Advance
อายุการใช้งาน : อายุการใช้งานขึ้นอยู่กับการออกแบบระบบในครั้งแรก และการใช้งานว่า Operate นานแค่ไหน โดยปกติหากดูแล Dust Collector ดี ก็สามารถใช้ได้เกิน 10 ปี
ค่าพลังงาน : Dust Collector จะใช้พลังงานประหยัดกว่า ESPความปลอดภัยในการใช้งาน
(การระเบิด) : Dust Collector และ EST มีความเสี่ยงเท่าๆกัน ดังนั้น จะต้องออกแบบระบบป้องกันไว้ ถ้าหากติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันระเบิดก็จะมีความเสี่ยงน้อยลง
8. Q : ฝุ่นแป้งมันสามารถระเบิดได้หรือไม่
A : ได้ เพราะแป้งมัน คือคาร์โบไฮเดรต ที่องค์ประกอบหลักเป็นคาร์บอน มีไฮโดรเจน และมีออกซิเจน ซึ่งเป็นฝุ่นอินทรีย์ ดังนั้นสามารถระเบิดได้
จบแล้วนะคะสำหรับบทความเรื่อง รวมมาให้แล้ว Q&A สุดฮิต !! ของ Dust Collector (เครื่องดูดฝุ่นในโรงงานอุตสาหกรรม) EP.1 บริษัทพรีเมี่ยม อิควิปเม้นท์ แอนด์ เอ็นจิเนียริ่ง จํากัด มีบริการจำหน่าย ออกแบบ ติดตั้ง Dust Collector โดยทีมวิศวกรที่ชำนาญงาน พร้อมให้คำแนะนำอย่างถูกต้อง หากลูกค้าท่านใดสนใจสามารถคลิกที่ลิงค์เพื่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้เลยค่ะ
รับชมวีดีโอเพิ่มเติมได้ที่ : Youtube Premium Equipment & Engineering
📌 สอบถามเพิ่มเติมที่::
📲 Line OA : @premiumpr หรือ https://lin.ee/3rDO9VSSV
📞 Tel : (02) 919-8900
🌏 WEBSITE :https://www.premium.co.th
⏰ เวลาทำงาน : จันทร์-ศุกร์ เวลา 08:30-17:30