เคยสงสัยไหมว่าทำไมเครื่องเติมอากาศประเภท Turbo Blower ถึงประหยัดกว่า รูทโบลเวอร์ (Root Blower )?
แล้วเค้ามีเกณฑ์อะไรมาวัดกันนะ ?
ก่อนที่จะเข้าสู่เนื้อหาในบทความเพื่อไขข้อสงสัย อย่างแรกที่ต้องรู้ก่อนเลยว่าจริงๆแล้วเครื่องเติมอากาศ (Blower) คืออะไร? และเอาไปใช้เพื่ออะไรกัน?
“Blower” หรือที่เราเรียกว่า “เครื่องเติมอากาศ” ส่วนใหญ่แล้วเอาไปใช้ใน “ระบบบำบัดน้ำดีน้ำเสีย” ตามโรงงานอุตสาหกรรม เช่น โรงงานอุตสาหกรรมอาหารและยา เป็นต้น และแน่นอนว่าเครื่องเติมอากาศ (Blower) ในอุตสาหกรรมส่วนใหญ่น่าจะเป็นรูทโบลเวอร์ (Root Blower) วันนี้บริษัท พรีเมี่ยม อิควิปเม้นท์ แอนด์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด ได้รวบรวมข้อมูลมมาให้แล้วค่ะ ไปดูกัน
ระบบระบายความร้อนของเครื่องเติมอากาศ (Turbo Blower)
อย่างแรกเลยคือ ระบบระบายความร้อน (Cooling System) เปรียบเสมือนหัวใจเลยก็ได้ เนื่องจากตัว Turbo Blower มีระบบระบายความร้อนที่มีประสิทธิภาพสูง โดยไม่ต้องใช้สารทำความเย็น)ช่วยและ (แก้: ซึ่งเครื่อง Turbo Blowerมีระบบระบายความร้อนด้วยตัวเองโดยอากาศโดยมีการติดตั้ง Cooling Fanเข้ากับตัวมอเตอร์ เพื่อระบายความร้อนส่วนเกินออกจากตัวเครื่อง
ใบพัด(Impeller)ของเครื่องเติมอากาศ (Turbo Blower)
หัวใจที่พลาดไม่ได้อีกอย่างคือ “ใบพัด” ที่มีประสิทธิภาพสูง ผลิตจาก AL7075-T6 (Aluminum Alloy) ทนต่อสภาพเเวดล้อมการทำงาน ในส่วนของเทคโนโลยีการประกอบที่ปรับให้เหมาะสมเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพมีการใช้เครื่องซีเอ็นซี 5 แกน (5-Axis Machine)ในการกลึงใบพัด ส่งผลให้ได้ใบพัดที่มีความแม่นยำและมีความทนทานที่ยอดเยี่ยม
มอเตอร์(Motor) ของเครื่องเติมอากาศ (Turbo Blower)
ท้ายสุดแต่ไม่สุดท้ายก็คือ มอร์เตอร์ (Motor) นั้นเอง มอเตอร์ความเร็วสูง มีระบบระบายความร้อนด้วยตัวเอง เครื่อง Turbo Blower มาพร้อมกับมอร์เตอร์ PMS ( Permanent Magnet Synchronous ) ที่มีประสิทธิภาพสูงถึง 98% (up to 98% Efficiency) และสามารถประหยัดพลังงานได้สูงถึง 45% เมื่อเทียบกับมอร์เตอร์ทั่วไป และมีการออกแบบที่เรียบง่ายและให้ความทนทาน เหมาะกับการทำงานเป็นระยะเวลานานต่อเนื่อง (24/7)
แบริ่ง(Bearing)ของเครื่องเติมอากาศ (Turbo Blower)
สุดท้ายขององค์ประกอบสำคัญสำหรับเครื่องเติมอากาศก็ คือ แบริ่ง (Air Bearing) ที่ไม่เหมือนใครเป็นแบริ่ง(Air Bearing) ที่ใช้ประโยชน์จากฟิล์มอากาศ (Air Film) ในการรองรับเพลา ทำให้ไม่เกิดการสูญเสียที่เกิดจากแรงเสียดทาน (Friction Loss) และเมื่อไม่มีการเสียดทาน จึงไม่มีความจำเป็นในการเติมน้ำมันหล่อลื่น (Oil Free 100%)
รูทโบลเวอร์ (Root Blower)
ในส่วนของ Root Blower ประกอบไปด้วยการใช้แบริ่ง (Bearing) ซึ่งแบริ่งที่ใช้ เป็นแบริ่งชนิดตลับลูกปืน (Ball Bearing) ซึ่งยังมีความต้องการใช้สารหล่อลื่น เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกปืนแตก ผู้ใช้งานต้องการมีการทำการบำรุงรักษาในส่วนนี้บ่อยครั้ง
และเนื่องจาก Root Blower มีการใช้ Lobe หรือ โรเตอร์ (Rotor) ในการดึงอากาศ เครื่อง Root Blower จึงมีความจำเป็นต้องมีการใช้น้ำมันหล่อลื่น เพื่อป้องกันการสึกหรอของ Lobe หรือ Rotor โดยทั่วไป ผู้ผลิต Root blower แนะนำให้เปลี่ยนน้ำมันหล่อลื่นทุกๆ 8000 – 10000 ชั่วโมงการทำงาน
นอกจากนี้ Root Blower ยังมีการใช้สายพานในการถ่ายทอดกำลังจากมอเตอร์ไปยังโรเตอร์ (Rotor) เมื่อใช้งานไปเป็นระยะเวลานาน สายพานจะกรอบและแตกได้ จึงมีการแนะนำให้มีการเปลี่ยนสายพานทุกๆ 1 ปี
นี้คือสาเหตุหลักในการที่ว่าทำไม Turbo Blower ถึงประหยัดกว่า Root Blower อย่าปล่อยให้เครื่องเสียพลังงานไป เปลี่ยนมาใช้ Turbo Blower ประหยัดจริง ลองดูสิครับ คุ้มค่า แน่นอน
📌 สอบถามเพิ่มเติมที่::
📲 Line OA : @premiumpr หรือ https://lin.ee/3rDO9VSSV
📞 Tel : (02) 919-8900
🌏 WEBSITE :https://www.premium.co.th
⏰ เวลาทำงาน : จันทร์-เสาร์ เวลา 08:30-17:30