สวัสดีค่ะทุกท่าน วันนี้พรีเมี่ยมจะพาทุกท่านมาทำความรู้จักกับหลังคาของถังเก็บน้ำหรือแทงค์ (Tank) (สำหรับท่านใดที่สงสัยว่าถังเก็บน้ำคืออะไร สามารถอ่านได้ที่บทความนี้ค่ะ : https://www.premium.co.th/2022/05/26/tank-details/ ) ว่าแต่หลังคาของถังเก็บน้ำจะมีกี่ประเภท และแต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไรบ้าง บทความนี้มีคำตอบค่ะ
หลังคาของถังเก็บน้ำหรือแทงค์ (Tank) มีกี่ประเภท ?
หลังคาของถังเก็บน้ำหรือแทงค์ (Tank) มี 4 ประเภท ได้แก่
- หลังคาแผ่นโพรไฟล์รางน้ำอลูมิเนียม (Trough Deck Roof)
- หลังคาอลูมิเนียมรูปแบบโครงถักสามมิติ (Geodesic Dome Roof)
- หลังคาเมมเบรนกักเก็บก๊าซแบบสองชั้น (Double Membrane Gas Holder)
- หลังคาชนิดโครงสร้างแข็ง (Tapered Beam and External Beam Roofs)
1.หลังคาแผ่นโพรไฟล์รางน้ำอลูมิเนียม (Trough Deck Roof)
หลังคาแผ่นโพรไฟล์รางน้ำอลูมิเนียม (Trough Deck Roof) วัสดุของแผ่นหลังคาจะทําจากแผ่นอลูมิเนียม ขึ้นรูปโพรไฟล์รางน้ำ (Trough Deck Profile) มีข้อดีคือ ทนทานต่อการกัดกร่อน และทนทานต่อสภาพอากาศมากกว่าแผ่นเหล็กหลังคาเคลือบสังกะสีทั่วไป ในส่วนของโครงหลังคาผลิตจากโครงสร้างเหล็ก เคลือบสีอิพ็อกซี มีการออกแบบโครงสร้างรับแผ่นหลังคาโดยไม่ต้องใช้เสาค้ำยันภายในถัง เพื่อลดปัญหาการผุกร่อนของโครงสร้างค้ำยัน ลดความกังวลต่อปัญหาการเกิดสนิมหรือการกัดกร่อนของโครงสร้าง อีกทั้งยังช่วยเพิ่มอายุการใช้งานให้ยาวนานมากขึ้นด้วยค่ะ
2.หลังคาอลูมิเนียมรูปแบบโครงถักสามมิติ (Geodesic Dome Roof)
หลังคาอลูมิเนียมรูปแบบโครงถักสามมิติ (Geodesic Dome Roof) คือ หลังคาที่นําเอารูปทรงเรขาคณิตมาประยุกต์ออกแบบเป็นโครงสร้าง โดยใช้เป็นรูปทรงของสามเหลี่ยมด้านเท่ามาเชื่อมต่อกันให้เป็นรูปทรงโดม วัสดุที่ใช้ผลิตโครงสร้างถักสามมิติและแผ่นหลังคาผลิตจากอลูมิเนียม จึงมีน้ำหนักเบา
แต่สามารถรับน้ำหนักได้มาก หลังคาอลูมิเนียมรูปแบบโครงถักสามมิตินี้ จะสามารถอยู่ทรงได้ด้วยตัวเอง (Self- Support Roof) โดยไม่ใช้เสาค้ำยัน และสามารถออกแบบรองรับความกว้างของเส้นผ่านศูนย์กลางถังได้มากกว่า 100 เมตรค่ะ
3.หลังคาเมมเบรนกักเก็บก๊าซแบบสองชั้น (Double Membrane Gas Holder)
หลังคาเมมเบรนกักเก็บก๊าซแบบสองชั้น (Double Membrane Gas Holder) วัสดุของแผ่นหลังคาทําจากเส้นใยโพลีเอสเตอร์เคลือบผิวด้วย PVC หรือ PVDF มีข้อดีคือ มีความแข็งแรงทนทาน รองรับแรงดึงและแรงเฉือนได้สูงมาก ในส่วนของเมมเบรนที่ใช้มีการเคลือบสารป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลต (UV) และสารเคลือบ ป้องกันการกัดกร่อนของก๊าซชีวภาพ มีการออกแบบให้ประกอบด้วยเมมเบรน 2 ชั้น เพื่อแยกหน้าที่การทํางาน โดยเมมเบรนชั้นใน (Inner Membrane) จะทําหน้าที่ กักเก็บก๊าซ และเมนเบรนชั้นนอก (Outer Membrane) จะทําหน้าที่รับแรงลม ด้วยการเป่าอากาศให้พองตัวตลอดเวลา สามารถออกแบบให้รับแรงลมได้สูงถึง 150 กม./ชม. ค่ะ
4.หลังคาชนิดโครงสร้างแข็ง (Tapered Beam and External Beam Roofs)
หลังคาชนิดโครงสร้างแข็ง (Tapered Beam and External Beam Roofs) เป็นหลังคาที่ออกแบบให้ใช้งานกักเก็บของเหลวได้หลากหลายประเภท และ สามารถกักเก็บก๊าซชีวภาพ (Biogas) ได้ วัสดุของแผ่นหลังคาจะผลิตจากแผ่นเหล็ก เคลือบผิวแบบหลอมละลายด้วยผงแก้ว (Glass-Fused-to-Steel) ประกอบเข้ากับโครงสร้างแข็งด้านนอกที่ผลิตจากเหล็กโครงสร้างรูปพรรณจุ่มสังกะสีร้อน (Hot Dipped Galvanized Steel Structure) สามารถออกแบบ และผลิตให้รองรับความดันก๊าซภายในถังได้สูงถึง 50 มิลลิบาร์ และสามารถติดตั้งอุปกรณ์ประกอบถัง ได้แก่ วาล์วระบายแรงดันก๊าซ หรือ ชุดใบกวน พร้อมมอเตอร์ สําหรับใช้เป็นถังปฏิกรณ์ (Reactor Tank) ได้
จบแล้วนะคะสำหรับการแนะนำ หลังคาของถังเก็บน้ำมีกี่ประเภท ? บริษัทบริษัทพรีเมี่ยม อิควิปเม้นท์ แอนด์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด เรามีบริการจำหน่ายถังเก็บน้ำหรือแทงค์ (Tank) พร้อมทีมช่างเฉพาะทางคอยบริการ หากท่านใดสนใจสามารถคลิกลิงก์เพื่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้เลยค่ะ
รับชมวีดีโอเพิ่มเติมได้ที่ : Youtube Premium Equipment & Engineering
📌 สอบถามเพิ่มเติมที่::
📲 Line OA : @premiumpr หรือ https://lin.ee/3rDO9VSSV
📞 Tel : (02) 919-8900
🌏 WEBSITE :https://www.premium.co.th
⏰ เวลาทำงาน : จันทร์-ศุกร์ เวลา 08:30-17:30