อย่างที่เราพอทราบกันมาบ้างว่า เครื่องทำลมแห้งนนั้นมีอยูู่ด้วยกัน 2 ประเภท ซึ่งก็คือเครื่องทำลมแห้งแบบน้ำยา (Refrigerated Air Dryer) และเครื่องทำลมแห้งแบบใช้เม็ดสาร (Desiccant Air Dryer) แต่ในวันนี้เราจะขอพูดถึงประเภทแรกในบทความนี้ก่อนครับ นั่นคือ Refrigerated Air Dryer หรือเครื่องทำลมแห้งแบบใช้น้ำยาทำความเย็นครับ
Refrigerated Air Dryer
โดยรูปร่างและหน้าตาของ เครื่องทำลมแห้งชนิดนี้ก็มีความเหมือนหรือแตกต่างกันไปในแต่ละยี่ห้อบริษัทผู้ผลิต แต่หลักการทำงานจะเหมือนกันซึ่งแบ่งการทำงานออกเป็น 2 ระบบดังนี้
การทำงานด้านระบบน้ำยาทำความเย็น
ส่วนของระบบน้ำยาทำความเย็นนั้นจะมีคล้ายคลึงกับเครื่องปรับอากาศ แต่หน้าที่ของคอยด์เย็นของเครื่องปรับอากาศนั้นจะมีหน้าที่ลดอุณภูมิ แต่ของเครื่องทำให้ลมแห้งนั้นจะทำหน้าที่ดึงความชื้นออกจากอากาศ ซึ่งมีขั้นตอนการทำงานดังต่อไปนี้
- .ริ่มจากคอมเพรสเซอร์ จะทำการดูดน้ำยาทำความเย็นจากคอยเย็นที่มีสถานะเป็นไอ ที่มีความดันและอุณหภูมิต่ำ เข้าสู่คอนเดนเซอร์ (Condenser) หรือคอยด์ร้อน
- น้ำยาจะเริ่มเปลี่ยนสถานะเป็นของเหลว(ความดันสูงอุณหภูมิสูง) และเมื่อออกจากคอนเดนเซอร์ น้ำยาทั้งหมดจะเปลี่ยนสถานะเป็นของเหลว 100%
- จากนั้นจะถูกฉีดเข้าไปลดความดันที่วาล์วลดแรงดัน (Expansion valve) น้ำยาจะเปลี่ยนสถานะจากของเหลวเป็นไออีกครั้งหนึ่ง ขณะที่น้ำยาเปลี่ยนสถานะเป็นไออีกครั้ง ตัวน้ำยาจะดูดความร้อนรอบข้างเพื่อให้น้ำยากลายเป็นไอทำให้อุณหภูมิบริเวณคอยด์เย็นลดลง
การทำงานด้านระบบลมอัด
หลังจากลมออกมาจากเครื่องอัดลมเข้ามาที่ถังพักลม ก็จะเข้าสู่คอยด์เย็นของเครื่องทำลมแห้ง ทำการแลกเปลี่ยนความร้อนกับน้ำยาทำความเย็นที่มีอุณหภูมิต่ำ ผลที่ได้คือทำให้น้ำที่ผสมอยู่กับลมอัดควบแน่นเป็นหยดน้ำแล้วระบายออกผ่านทางตัวระบายน้ำอัตโนมัติ จากนั้นลมก็จะถูกส่งออกจากเครื่องทำลมแห้ง แต่ลมนี้ไม่ได้แห้ง 100% เนื่องจากปกติแล้วจุด Dew point อยู่ระหว่าง 2 ถึง 10 องศาเซลเซียส จึงทำให้ลมยังมีความชื้นปะปนไปอยู่บ้างเล็กน้อย
ลักษณะการทำนานของเครื่องทำลมแห้งแบบใช้น้ำยาทำความเย็น
เครื่องทำลมแห้งแบบใช้น้ำยาทำความเย็นนั้นยังแบ่งลักษณะการทำงานได้เป็น 2 ประเภทคือ
- Cycling dryers คือคงการทำงานไว้ตลอดเวลาโดยไม่หยุดเพื่อคงอุณภูมิของจุด Dew point ไว้ ให้คงที่
- Non-cycling dryers หยุดตามรอบเป็นระยะๆ และจะเริ่มทำงานอีกรอบเมื่ออุณภูมิไม่ได้ตามที่ต้องการ
ซึ่งความแตกต่างระหว่าง 2 ระบบนี้ก็คือ ตัว cycling dryer จะมีข้อดีอยู่ที่ สามารถทำให้จุด Dew Point คงที่ ซึ่งจะมีข้อเสีย คือมีค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษามากกว่า และใช้พลังงานมากกว่า ส่วน non-cycling dryer นั้นมีค่าบำรุงรักษาน้อยกว่า และ ใช้พลังงานน้อยกว่า แต่ค่าของ Dew Point นั้นจะไม่คงที่
📌 สอบถามเพิ่มเติมที่::
📲 Line OA : @premiumpr หรือ https://lin.ee/3rDO9VSSV
📞 Tel : (02) 919-8900
🌏 WEBSITE :https://www.premium.co.th
⏰ เวลาทำงาน : จันทร์-เสาร์ เวลา 08:30-17:30