หลายอุตสาหกรรมมีวิศกรที่มีทักษะในการแก้ปัญหาที่ดี แต่ละคนก็มี Skill ที่แตกต่างกันไป และอีกทักษะที่วิศกรทุกท่านต้องมี
Soft Skill นั้นคือ “Problems Solving Process” ถือว่าเป็นSoft Skill ที่จำเป็น เพราะไม่ว่างานอะไรอาจพบเจอกับปัญหาอยู่ได้ตลอดเวลา ไม่ว่าปัญหาเหล่านี้จะเป็นอะไร ไม่มีใครรู้ว่า เกิดเมื่อไหร่ ไม่สามารถคาดการณ์ได้ ดังนั้นการเตรียมพร้อมในการแก้ไขปัญหาอย่าง เป็นระบบจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรละเลย บางครั้งเราคิดว่าปัญหานั้นไม่ใช่เรื่องยาก เราสามารถแก้ไขได้แต่ในทางความเป็นจริงของชีวิตเรามันไม่ใช่แค่นั้น เพราะปัญหาจริงๆไม่ได้มีโจทย์มาให้ และโจทย์แต่ละครั้ง เราก็ไม่สามารถหรือคาดคะเนได้เช่นกันหรือแม้ว่าบางครั้ง เราพบว่าปัญหาเข้ามาพร้อมๆกันในหลายๆด้าน จนไม่สามารถเรียงลำดับความสำคัญ ที่จะแก้ไขมัน ซึ้งอาจส่งผลให้เราแก้ปัญหาได้ไม่ตรงจุดรวมถึงก่อให้เกิดผลกระทบที่ตามมาได้อีกเช่นกัน
4 ขั้นตอนในการแก้ปัญหาอยากเป็นระบบ
1. ระบุปัญหา (Identify The Problem)
เหมือนเรายกตัวอย่างให้เห็นภาพกันง่ายๆ….สมมติทุกท่านลองหลับตาแล้วคิดภาพตาม ในสถาณการณ์ ที่กำลังใช้ไขควงเพื่อหมุนเกลียวของสกรูอยู่ ถ้าไขควงไม่สามารถไขได้…..คุณจะยังใช้ไขควงนั้นไขต่อไปไหม? ถ้าหากคุณไขไปแล้วมันยังไขไปต่อไม่ได้อยู่ดี….. อย่างแรกคุณอาจจะคิดว่า เราใช้แรงไม่พอรึเปล่า เราไขถูกทางไหม หรือไขขวงอันนี้พอดีไหม เราต้องย้อนกลับไปดูที่ต้นเห็นว่า เรากำลังไขอะไรอยู่ รูปลักษณะอย่างไร แล้วเราจะใช้อะไรไข แล้วเราสามารถไขได้แบบไหนบ้าง เช่นกัน กับการระบุปัญหา เราคงต้องศึกษาก่อนว่า ปัญหานี้คืออะไร แล้วทำไมมันถึงเกิดปัญหาเหล่านี้ เราต้องย้อนไปที่ต้นตอของมัน เพื่อที่จะระบุปัญหา (Identify The Problem)
2.หาตัวเลือกสำหรับทางออก (Find Alternatives)
เมื่อเราสามารถระบุปัญหาอย่างได้แน่ชัดแล้ว เราก็มาถึงวิธีการหาทางออก (Find Alternatives) แน่นอนว่าเรามาตั้งสมมติฐานเพื่อหาตัวเลือกสำหรับทางออก (Find Alternatives) ว่า เราสามารถวิธีในการแก้ปัญหา ได้กี่แบบ กี่วิธี แล้วแบบไหนบ้าง แต่ละแบบกรณีดีที่สุดจะเป็นอย่างไร กรณีที่แย่ที่สุดจะเป็นอย่างไรแล้ว เราจะรับมือกับกรณีที่แย่ที่สุดได้อย่างไรบ้าง แล้วสามารถประเมิณค่ากรณีที่แย่ที่สุดได้อย่างไรบ้าง
3.เลือกกลยุทธ์ที่ดีที่สุด (Great Decision Skills)
เมื่อเราได้วิธีทั้งหมดแล้ว หลังจากนี้คือกระบวนการที่สำคัญที่สุดคือ เลือกกลยุท์ที่ดีที่สุด (Great Decision Skills) แล้วลงมือทำนั้นเอง โดยประเมิณจากการวัดค่าผลลัพธ์จากสมมติฐานที่เราคาดคะเนไว้นั้นเอง
4.ดำเนินการและวัดผล (Execute & Measure)
แน่นอนว่าทุกครั้งที่มีปัญหาที่เราสามารถแก้ไขได้ ก็ต้องมีตัววัดในการประเมิณว่า วิธีการที่เราเลือกและปฏิบัติทำนั้น มีผลลัพธ์อย่างไรบ้าง โดยสามารถทำเครื่องมาชี้วัดค่าต่างๆมาวัดเกณฑ์ ในการทำงาน ไม่ว่าจะด้วยวิธีใดก็ตาม ผลลัพธ์นั้น สามารถบ่งบองถึงศักยภาพในการทำงานของเราได้เสมอ อีกทั้งเรายังสามารถนำผลลัพธ์เหล่านั้น กลับมาคิดแล้วตกผลึกว่า เราได้ทำงานในส่วนตรงไหนผิดพลาดบ้างไหม อีกทั้งเรายังสามารถพัฒนาศักยภาพของเราได้อีก
และนี้ก็คือ Soft Skill Problems Solving Process ที่ถือว่าเป็นจำเป็นมากๆสำหรับผู้ที่ประกอบวิชาชีพวิศกรนั้นเอง อย่าหยุด
พัฒนาตัวเอง เพื่อศักยภาพของตัวเอง พรีเมี่ยมพร้อมก้าวสู่การพัฒนาที่ยั่งยื่นไปพร้อมๆกัน เชื่อใจ มั่นใจ ให้พรีเมี่ยมดูแลคุณ
📌 สอบถามเพิ่มเติมที่::
📲 Line OA : @premiumpr หรือ https://lin.ee/3rDO9VSSV
📞 Tel : (02) 919-8900
🌏 WEBSITE :https://www.premium.co.th
⏰ เวลาทำงาน : จันทร์-เสาร์ เวลา 08:30-17:30